จากกรณีที่เครื่องบิน MH370 ของมาเลเซียที่หายสาบสูญ ณ ขณะนี้ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าหายไปเนื่องจากสาเหตุใดกันแน่ เพราะแม้กระทั่งตัวเครื่องยังหาไม่พบ จึงยังไม่มีการพูดถึงเรื่องกล่องดำกันมากเท่ากับกรณีที่เครื่องบินตกและหาเศษซากเครื่องบินเจอ แต่ก็อาจทำให้บางท่านอาจฉุกคิดถึงกล่องดำบนเครื่องบินกันบ้าง ดังนั้นวันนี้เราจะมาไขปริศนากันว่ากล่องดำบนเครื่องบินคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
กล่องดำมีสีดำใช่หรือไม่
กล่องดำที่ติดตั้งบนเครื่องบิน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Black Box มีอยู่หลายสี ไม่ได้มีเฉพาะสีดำ ซึ่งสีที่เห็นกันบ่อยคือสีส้ม เพราะเป็นสี่ที่ง่ายต่อการค้นหา ส่วนสาเหตุที่เรียกว่ากล่องดำสันนิษฐานกันว่าอาจมาจาก กล่องดำที่ใช้รุ่นแรกๆ เป็นสีดำ หรือ กล่องซึ่งเราไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น หรือกล่องปริศนานั่นเอง
เครื่องบินแต่ละลำมีกล่องดำกี่กล่อง
เครื่องบินแต่ละลำจะมีกล่องดำอยู่ 2 กล่อง กล่องแรกใช้บันทึกข้อมูลการบิน เช่น สภาพอากาศ ความเร็ว ระดับสูงของเครื่องบิน ส่วนอีกกล่อง ใช้บันทึกเสียงสนทนาในห้องนักบิน ซึ่งจะเริ่มบันทึกตั้งแต่นักบินติดเครื่องไปจนกระทั้่งดับเครื่อง ดังนั้นเมื่อเวลาที่เครื่องบินตกจึงต้องมีการค้นหากล่องดำเพื่อจะได้รู้สาเหตุการตกและนำไปพัฒนาปรับปรุงการให้บริการทางการบินต่อไป
เหตุใดกล่องดำจีงไม่เสียหายไปกับตัวเครื่องบินที่ตก
เหตุที่กล่องดำไม่เสียหายไปกับเครื่องบินที่ตกเนื่องจากมันประกอบไปด้วยวัสดุ 3 ชั้นเรียงกัน ซึ่งได้แก่ ชั้นในสุดเป็นวัสดุที่ทำจากแผ่นอะลูมิเนียมบางๆ ห่อหุ้มอุปกรณ์ บันทึกข้อมูลไว้ ชั้นที่สองเป็นฉนวนที่ทนความร้อน และชั้นที่สามทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมทนความร้อนสูง ดังนั้นมันจึงทนแรงกระแทก แรงระเบิด ทนน้ำ ทนไฟ ได้ดี
ตำแหน่งติดตั้งกล่องดำบนเครื่องบิน
สำหรับตำแหน่งติดตั้งกล่องดำจะอยู่บริเวณส่วนหางของเครื่องบิน เพราะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด เวลาเครื่องบินตก
Sawasdee Today
สวัสดี ทูเดย์ บล็อกที่แชร์เรื่องราวต่างๆ ที่อาจเป็นประโยชน์กับคุณ
วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วิธีขับรถเกียร์ออโต้
รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า รถเกียร์ออโต้นั้น เป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นการขับขี่ในเมืองที่ขึ้นชื่อว่า รถติดมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อย่างกรุงเทพมหานครด้วยแล้ว เกียร์ออโต้จะช่วยให้เราไม่ต้องคอยเปลี่ยนเกียร์ เหยียบคลัตช์ ให้เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนกับการขับขี่ด้วยเกียร์ธรรมดาเลยล่ะ
หลายๆ คนคงสงสัยกันว่า วิธีขับรถเกียร์ออโต้ มันทำอย่างไร? วันนี้เราจะมาเฉลยให้รู้กัน
รูปร่างหน้าตาของเกียร์ออโต้กันก่อน
ก่อนอื่น เรามาดูหน้าตาของเกียร์ออโต้กันก่อน จากนั้นเราค่อยมาดูกันว่าตำแหน่งต่างๆ ของเกียร์ออโต้ มันใช้ทำอะไร
เกียร์ออโต้ ของ Toyota New Vios
เกียร์ออโต้ ของ Honda City
ตำแหน่งของเกียร์ออโต้
1. P (Parking) ใช้สำหรับจอดรถ ซึ่งจะล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน โดยเราจะเปลี่ยนเกียร์มาที่ P เมื่อรถจอดนิ่งสนิทแล้วและต้องการดับเครื่อง เลิกใช้งาน หรือเมื่อต้องการจอดรถบนทางลาดชัน (ข้อแนะนำ : ควรดึงเบรคมือ เสริมด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหาย ถ้าถูกชนท้าย) นอกจากนั้น ก่อนสตาร์ทรถ ตำแหน่งเกียร์ควรจะอยู่ที่ P เช่นเดียวกัน
2. R (Reverse) คือ เกียร์ถอยหลัง โดยเมื่อเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง R นี้แล้ว รถจะถอยหลังไปได้เองอย่างช้าๆ โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่งเลย (ข้อแนะนำ: ขณะกำลังถอยหลัง ไม่ควรเหยียบคันเร่ง เพราะจะทำให้รถถอยหลังไปอย่างรวดเร็ว อาจจะชนคนได้ ดังนั้นควรวางเท้าไว้ที่บนแป้นเบรค เพื่อเตรียมพร้อมในการเหยียบเบรค ขณะทำการถอยหลัง)
3. N (Neutral) คือ เกียร์ว่าง ใช้เมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น ขณะจอดรถติดไฟแดง และเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N นี้ รถจะสามารถถูกเข็นไปได้ (เวลาที่เราจอดรถขวางหน้ารถคันอื่นๆ ตามห้าง ควรใส่เกียร์ว่าง และปลดเบรคมือออกด้วย)
4. D หรือ D4 คือ เกียร์เดินหน้า 4 Speed ใช้ในการขับขี่ปกติ โดยเมื่อเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถจะเริ่มออกตัว แล่นไปเองอย่างช้าๆ และเมื่อเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 แล้วไปเกียร์ 3 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 4 ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ (ปกติ ถ้าวิ่งบนทางราบ เราจะใช้เกียร์ D นี้บ่อยสุด)
5. 3 หรือ D3 คือ เกียร์เดินหน้า 3 Speed ส่วนใหญ่ใช้ในการขับขึ้น-ลงเนินที่ไม่ชันมาก เช่น ขึ้นสะพาน โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 3 นอกจากนี้เรายังใช้ในกรณีที่ต้องการเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้าด้วย โดยขณะที่รถวิ่งด้วยตำแหน่งเกียร์ D4 เป็นระยะเวลานาน เมื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ D3 จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง ทำให้เครื่องแรงและสามารถแซงไปได้อย่างรวดเร็ว
6. 2 หรือ D2 คือ เกียร์เดินหน้า 2 Speed ใช้เมื่อต้องการขับรถขึ้น-ลงเนิน หรือเขาที่ค่อนข้างชัน หรือ ขับขึ้น-ลง ตามห้าง โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 2
7. L (Low)คือเกียร์ 1 ซึ่งจะใช้ในการขับขึ้น-ลง เขาที่สูงชันมากๆ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค เพื่อลดการเหยียบเบรค เพราะอาจจะทำให้ผ้าเบรคหมดเร็วได้
ขั้นตอนวิธีการขับรถเกียร์ออโต้
1. การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท
2. การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ
3. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ
4. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ
5. การจอดรถ ค่อยๆ ผ่อนความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือ ดับเครื่อง
6. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N
7. การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N
8. การถอยหลัง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรคเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจเหยียบคันเร่งแบบค่อยเหยียบ
รูปร่างหน้าตาของเกียร์ออโต้กันก่อน
ก่อนอื่น เรามาดูหน้าตาของเกียร์ออโต้กันก่อน จากนั้นเราค่อยมาดูกันว่าตำแหน่งต่างๆ ของเกียร์ออโต้ มันใช้ทำอะไร
เกียร์ออโต้ ของ Toyota New Vios
เกียร์ออโต้ ของ Honda City
ตำแหน่งของเกียร์ออโต้
1. P (Parking) ใช้สำหรับจอดรถ ซึ่งจะล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน โดยเราจะเปลี่ยนเกียร์มาที่ P เมื่อรถจอดนิ่งสนิทแล้วและต้องการดับเครื่อง เลิกใช้งาน หรือเมื่อต้องการจอดรถบนทางลาดชัน (ข้อแนะนำ : ควรดึงเบรคมือ เสริมด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหาย ถ้าถูกชนท้าย) นอกจากนั้น ก่อนสตาร์ทรถ ตำแหน่งเกียร์ควรจะอยู่ที่ P เช่นเดียวกัน
2. R (Reverse) คือ เกียร์ถอยหลัง โดยเมื่อเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง R นี้แล้ว รถจะถอยหลังไปได้เองอย่างช้าๆ โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่งเลย (ข้อแนะนำ: ขณะกำลังถอยหลัง ไม่ควรเหยียบคันเร่ง เพราะจะทำให้รถถอยหลังไปอย่างรวดเร็ว อาจจะชนคนได้ ดังนั้นควรวางเท้าไว้ที่บนแป้นเบรค เพื่อเตรียมพร้อมในการเหยียบเบรค ขณะทำการถอยหลัง)
3. N (Neutral) คือ เกียร์ว่าง ใช้เมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น ขณะจอดรถติดไฟแดง และเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N นี้ รถจะสามารถถูกเข็นไปได้ (เวลาที่เราจอดรถขวางหน้ารถคันอื่นๆ ตามห้าง ควรใส่เกียร์ว่าง และปลดเบรคมือออกด้วย)
4. D หรือ D4 คือ เกียร์เดินหน้า 4 Speed ใช้ในการขับขี่ปกติ โดยเมื่อเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถจะเริ่มออกตัว แล่นไปเองอย่างช้าๆ และเมื่อเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 แล้วไปเกียร์ 3 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 4 ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ (ปกติ ถ้าวิ่งบนทางราบ เราจะใช้เกียร์ D นี้บ่อยสุด)
5. 3 หรือ D3 คือ เกียร์เดินหน้า 3 Speed ส่วนใหญ่ใช้ในการขับขึ้น-ลงเนินที่ไม่ชันมาก เช่น ขึ้นสะพาน โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 3 นอกจากนี้เรายังใช้ในกรณีที่ต้องการเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้าด้วย โดยขณะที่รถวิ่งด้วยตำแหน่งเกียร์ D4 เป็นระยะเวลานาน เมื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ D3 จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง ทำให้เครื่องแรงและสามารถแซงไปได้อย่างรวดเร็ว
6. 2 หรือ D2 คือ เกียร์เดินหน้า 2 Speed ใช้เมื่อต้องการขับรถขึ้น-ลงเนิน หรือเขาที่ค่อนข้างชัน หรือ ขับขึ้น-ลง ตามห้าง โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 2
7. L (Low)คือเกียร์ 1 ซึ่งจะใช้ในการขับขึ้น-ลง เขาที่สูงชันมากๆ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค เพื่อลดการเหยียบเบรค เพราะอาจจะทำให้ผ้าเบรคหมดเร็วได้
ขั้นตอนวิธีการขับรถเกียร์ออโต้
1. การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท
2. การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ
3. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ
4. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ
5. การจอดรถ ค่อยๆ ผ่อนความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือ ดับเครื่อง
6. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N
7. การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N
8. การถอยหลัง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรคเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจเหยียบคันเร่งแบบค่อยเหยียบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)